วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การจัดเก็บกก

เมื่อตากกกจนแห้งสนิทดีแล้ว นำกกขนาดเดียวกันประมาณ 8-12 มัด มากองรวมกันแล้วใช้เชือกหรือไม้ตอกมัดเป็นมัดใหญ่ โดยกองหนึ่งอาจมัดได้ 4-5 ช่วง จนกระทั่งหมดจำนวนกก แล้วจึงนำไปจัดเก็บไว้บริเวณที่แห้ง ไม่มีความชื้น พร้อมที่จะนำไปใช้ทอเสื่อหรือย้อมสีกกต่อไป

การตากกก

เมื่อจักกกจนหมดตามจำนวนกกที่ตัดมาแล้ว มัดกกขนาดเท่ากำมือโดยใช้ไม้ตอกหรือยางรัด  นำมาตากแดดให้แห้ง  โดยคลี่กกออกให้เป็นลักษณะรูปใบพัด  ตากในบริเวณที่แดดจัดๆ แล้วกลับกกขึ้นให้แห้งทั่วถึง  ตากไว้ประมาณ 2-3 วัน เมื่อแห้งสนิทแล้วจึงนำไปจัดเก็บต่อไป

การคัดขนาดกก

 ในการคัดขนาดกกนั้นจะทำการคัดแยกกกที่มีขนาดเท่ากันมากองรวมกันไว้ตามขนาดด่างๆ โดยการกำยอดกกไว้แล้วสลัดให้กกที่สั้นกว่าหลุด   ออกมาแล้วเก็บรวบรวมกกที่สลัดหลุดออกมารวมกันใหม่ แล้วสลัดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด ซึ่งจะได้กกขนาดต่างกัน
      หลังจากนั้นจึงตัดยอดกกส่วนที่เป็นดอกทิ้งไป เหลือไว้เฉพาะส่วนของลำต้น   เตรียมนำไปจักกก

ผลิตภัณฑ์เสื่อกกแปรรูป

เรื่องราวของผลิตภัณฑ์ (Product Story)
จากสภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะดิน และการประกอบอาชีพทำนานั้น ในอดีตครั้งเพิ่งเริ่มก่อตั้งชุมชนชาวบ้านเพียง
อย่างเดียว แต่ในพื้นที่นา พื้นที่ริมคลอง หรือที่ราบลุ่ม มีน้ำขัง กลับมีต้นกกเจริญงอกงามโดยทั่วไปหลังฤดูเก็บเกี่ยว
ชาวบ้านสร้งจึงคิดนำต้นกกที่แห้งที่นำมาใช้รองเพื่อประโยชน์อื่นมาสานเป็นผืนปูรองจนได้รับความนิยม จึงพัฒนา
จนเป็นการทอเช่นเดียวกับการทอเส้นใยอื่น จากจุดเริ่มต้นภูมิปัญญาการทอเสื่อกกของชาวบ้านสร้าง ได้ถูกถ่ายทอด
จากรุ่นสู่รุ่น ค่อยๆ พัฒนาตลอดมา จากวิธีการทอ การใช้สี ลักษณะ ลวดลาย จนถึงการคัดเลือกสายพันธุ์ของต้นกก
จากเสื่อผืน สู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลายกหลาย "เสื่อกกบ้านสร้าง" จึงเป็นเหมือนสัญญลักษณ์ของอำเภอบ้าน
สร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ที่สื่อโดยนัยให้เห็นถึงวิถีที่เรียบง่าย ความอุตสาหะหมั่นเพียร ความละเอียดอ่อน อ่อนโยน
จนต่อมาเสื่อกกบ้านสร้างได้ถูกบรรจุลงในคำขวัญของอำเภอ ดังนี้ "หลวงพ่อจาดเลื่องลือชื่อ นามระบือกุ้งใหญ่ เสื่อ
กกเสริมรายได้ ทุ่งนาข้าวเรืองรอง แผ่นดินทองบ้านสร้าง"

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

ขั้นตอนและวิธีการทำ

การเตรียมโครงกี่

            1.เตรียมความพร้อมของโครงกี่ โดยการสำรวจความพร้อมของต่างๆ ว่ามีไม้แต่ละส่วนครบหรือไม่ ในที่นี้ใช้กี่น้อยนาหนังพัฒน์ ซึ่งเป็นโครงกี่ที่ประยุกต์ขึ้นมาใช้เฉพาะของโรงเรียน มีคุณสมบัติคือ ขนาดเล็ก กะทัดรัด น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก ถอดประกอบได้ และสามารถนั่งทอคนเดียวได้


              2. นำด้ายมาร้อยเข้ากับฟืมและโครงกี่ (การร้อยเส้นด้ายขึ้นอยู่กับลวดลายเสื่อที่วางแผนไว้) โดยนำเส้นกกมาวัดขนาดความกว้างของว่าจะร้อยด้ายกว้างเท่าใด ซึ่งจะวัดห่างจากปลายกกด้านละประมาณ 1 คืบ



   ขั้นตอนการทอเสื่อ
                   1) นำกกสีต่างๆ ที่ผ่านการย้อมสีหรือกกแห้งสีธรรมชาติ (ขึ้นอยู่กับลวดลายที่วางแผนไว้) ไปแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที พอกกนิ่มนำขึ้นจากน้ำ


2) นำกกมาวางไว้ด้านที่คนทอถนัด ซึ่งในที่นี้ใช้คนทอเพียงคนเดียว


3) สอดไม้ส่งกกตามลวดลายที่วางไว้จนสุดความกว้างของด้าย แล้วสอดเส้นกกใส่ปลายไม้ดึงกลับคืน
 ทำลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยสลับต้น-ปลายกก  จนกระทั่งเต็มผืน  ตัดตกแต่งริมกกให้สวยงาม




การเก็บเกี่ยวและจักกก

การเก็บเกี่ยวและจักกก

 1. การเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์
ในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อเก็บเกี่ยวกก อาจจะใช้เคียว หรือ มีดบาง ก็ได้  ส่วนการจักกกนั้นจะใช้ มีดเล็ก


2.การตัดกก
         ในการตัดกก ควรเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ให้พร้อม  ในการเลือกตัดกกนั้น ควรดูว่ากกมีลักษณะที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป โดยสังเกตที่ดอกกกจะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล

3.การคัดขนาดกก
                    ในการคัดขนาดกกนั้นจะทำการคัดแยกกกที่มีขนาดเท่ากันมากองรวมกันไว้ตามขนาดด่างๆ โดยการกำยอดกกไว้แล้วสลัดให้กกที่สั้นกว่าหลุด   ออกมาแล้วเก็บรวบรวมกกที่สลัดหลุดออกมารวมกันใหม่ แล้วสลัดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด ซึ่งจะได้กกขนาดต่างกัน
                     
หลังจากนั้นจึงตัดยอดกกส่วนที่เป็นดอกทิ้งไป เหลือไว้เฉพาะส่วนของลำต้น   เตรียมนำไปจักกก


 4. การจักกก

          ในการจักกก จะนำลำต้นกกที่ผ่านการคัดขนาดแล้ว มาจักเป็นเส้นเล็กๆ โดยใช้มีดขนาดเล็ก ซึ่งกกต้นหนึ่งจะจักออกได้ประมาณ 3-5 เส้น ขึ้นอยู่กับความต้องการความละเอียดของผืนเสื่อ  โดยจะตัดใส้ในสีขาวของกกออก   เมื่อได้ขนาดเท่ากับหนึ่งกำมือจะนำมามัดรวมกันโดยใช้ไม้ตอกหรือยางรัด

5. การตากกก

                  เมื่อจักกกจนหมดตามจำนวนกกที่ตัดมาแล้ว มัดกกขนาดเท่ากำมือโดยใช้ไม้ตอกหรือยางรัด  นำมาตากแดดให้แห้ง  โดยคลี่กกออกให้เป็นลักษณะรูปใบพัด  ตากในบริเวณที่แดดจัดๆ แล้วกลับกกขึ้นให้แห้งทั่วถึง  ตากไว้ประมาณ 2-3 วัน เมื่อแห้งสนิทแล้วจึงนำไปจัดเก็บต่อไป
 6. การจัดเก็บกก


                  เมื่อตากกกจนแห้งสนิทดีแล้ว นำกกขนาดเดียวกันประมาณ 8-12 มัด มากองรวมกันแล้วใช้เชือกหรือไม้ตอกมัดเป็นมัดใหญ่  โดยกองหนึ่งอาจมัดได้ 4-5 ช่วง  จนกระทั่งหมดจำนวนกก  แล้วจึงนำไปจัดเก็บไว้บริเวณที่แห้ง ไม่มีความชื้น  พร้อมที่จะนำไปใช้ทอเสื่อหรือย้อมสีกกต่อไป