วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

ขั้นตอนและวิธีการทำ

การเตรียมโครงกี่

            1.เตรียมความพร้อมของโครงกี่ โดยการสำรวจความพร้อมของต่างๆ ว่ามีไม้แต่ละส่วนครบหรือไม่ ในที่นี้ใช้กี่น้อยนาหนังพัฒน์ ซึ่งเป็นโครงกี่ที่ประยุกต์ขึ้นมาใช้เฉพาะของโรงเรียน มีคุณสมบัติคือ ขนาดเล็ก กะทัดรัด น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก ถอดประกอบได้ และสามารถนั่งทอคนเดียวได้


              2. นำด้ายมาร้อยเข้ากับฟืมและโครงกี่ (การร้อยเส้นด้ายขึ้นอยู่กับลวดลายเสื่อที่วางแผนไว้) โดยนำเส้นกกมาวัดขนาดความกว้างของว่าจะร้อยด้ายกว้างเท่าใด ซึ่งจะวัดห่างจากปลายกกด้านละประมาณ 1 คืบ



   ขั้นตอนการทอเสื่อ
                   1) นำกกสีต่างๆ ที่ผ่านการย้อมสีหรือกกแห้งสีธรรมชาติ (ขึ้นอยู่กับลวดลายที่วางแผนไว้) ไปแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที พอกกนิ่มนำขึ้นจากน้ำ


2) นำกกมาวางไว้ด้านที่คนทอถนัด ซึ่งในที่นี้ใช้คนทอเพียงคนเดียว


3) สอดไม้ส่งกกตามลวดลายที่วางไว้จนสุดความกว้างของด้าย แล้วสอดเส้นกกใส่ปลายไม้ดึงกลับคืน
 ทำลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยสลับต้น-ปลายกก  จนกระทั่งเต็มผืน  ตัดตกแต่งริมกกให้สวยงาม




การเก็บเกี่ยวและจักกก

การเก็บเกี่ยวและจักกก

 1. การเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์
ในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อเก็บเกี่ยวกก อาจจะใช้เคียว หรือ มีดบาง ก็ได้  ส่วนการจักกกนั้นจะใช้ มีดเล็ก


2.การตัดกก
         ในการตัดกก ควรเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ให้พร้อม  ในการเลือกตัดกกนั้น ควรดูว่ากกมีลักษณะที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป โดยสังเกตที่ดอกกกจะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล

3.การคัดขนาดกก
                    ในการคัดขนาดกกนั้นจะทำการคัดแยกกกที่มีขนาดเท่ากันมากองรวมกันไว้ตามขนาดด่างๆ โดยการกำยอดกกไว้แล้วสลัดให้กกที่สั้นกว่าหลุด   ออกมาแล้วเก็บรวบรวมกกที่สลัดหลุดออกมารวมกันใหม่ แล้วสลัดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด ซึ่งจะได้กกขนาดต่างกัน
                     
หลังจากนั้นจึงตัดยอดกกส่วนที่เป็นดอกทิ้งไป เหลือไว้เฉพาะส่วนของลำต้น   เตรียมนำไปจักกก


 4. การจักกก

          ในการจักกก จะนำลำต้นกกที่ผ่านการคัดขนาดแล้ว มาจักเป็นเส้นเล็กๆ โดยใช้มีดขนาดเล็ก ซึ่งกกต้นหนึ่งจะจักออกได้ประมาณ 3-5 เส้น ขึ้นอยู่กับความต้องการความละเอียดของผืนเสื่อ  โดยจะตัดใส้ในสีขาวของกกออก   เมื่อได้ขนาดเท่ากับหนึ่งกำมือจะนำมามัดรวมกันโดยใช้ไม้ตอกหรือยางรัด

5. การตากกก

                  เมื่อจักกกจนหมดตามจำนวนกกที่ตัดมาแล้ว มัดกกขนาดเท่ากำมือโดยใช้ไม้ตอกหรือยางรัด  นำมาตากแดดให้แห้ง  โดยคลี่กกออกให้เป็นลักษณะรูปใบพัด  ตากในบริเวณที่แดดจัดๆ แล้วกลับกกขึ้นให้แห้งทั่วถึง  ตากไว้ประมาณ 2-3 วัน เมื่อแห้งสนิทแล้วจึงนำไปจัดเก็บต่อไป
 6. การจัดเก็บกก


                  เมื่อตากกกจนแห้งสนิทดีแล้ว นำกกขนาดเดียวกันประมาณ 8-12 มัด มากองรวมกันแล้วใช้เชือกหรือไม้ตอกมัดเป็นมัดใหญ่  โดยกองหนึ่งอาจมัดได้ 4-5 ช่วง  จนกระทั่งหมดจำนวนกก  แล้วจึงนำไปจัดเก็บไว้บริเวณที่แห้ง ไม่มีความชื้น  พร้อมที่จะนำไปใช้ทอเสื่อหรือย้อมสีกกต่อไป



 


วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

รูปภาพเสื่อกก

  


ลวดลายเสื่อชนิดต่างๆ


1. ลวดลายเสื่อชั้นเดียว เสื่อชั้นเดียวหรือเรียกอีกอย่างว่า เสื่อลายขัด

 มีลวดลายที่แตกต่างกันด้วยวิธีการทอ และการให้สีกกเพราะกก
แต่ละสีแต่ละเส้น ซึ่งใช้ในการทอจะเป็นตัวกำหนดลวดลายต่าง ๆ ของ
เสื่อ ลายบางชนิด อาจจะเปลี่ยนสีเส้นกกได้ตามความชอบของผู้ใช้ แต่
ลายบางชนิด เช่น ลายดอกมะขาม สีของเส้นกกจะเป็นสิ่งกำหนด
ลักษณะลายที่ประยุกต์มาจากธรรมชาติ ดังนั้นจึงเปลี่ยนสีเส้นกกไม่ได้
ต้องใช้สีตายตัว
ลวดลายชนิดต่าง ๆ แบบเสื่อชั้นเดียว
ลายก้างปลา ในช่วงลายใช้กก 2 สี คือ สีเหลือง และสีดำของกก
ที่ใช้เปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้ทอ
 
ลายตาแขก ในช่วงลายใช้กก 4 เส้น สีของเส้นกกสามารถ
เปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการ
ลาย 3 เส้น (ลายตาเหลือบในช่วงลายใช้กกในการทอ 3 สี ผู้ทอ
สามารถเปลี่ยนแปลงสีของเส้นกกได้ตามความต้องการ
ลายไส้ปลาไหล ในช่วงลาย ใช้กก 2 สีสีของเส้นกกสามารถ
เปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการ
ลายเสื่อจันท์ ในช่วงลายใช้กก 2 สี ผู้ทอ สามารถเปลี่ยนแปลงสี
ของกกได้ตามความต้องการ
 
ลายตะแคง ในช่วงใช้กก 4 สี ของเส้นกกสามารถเปลี่ยนแปลง
ได้ความความต้องการของผู้ทอ
ลายดอกมะขาม ในช่วงลายใช้กก 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสี
เขียว การทอเสื่อลายดอกมะขามสีของเส้นกกต้องตายตัว เพราะเป็นสีที่
ใช้แทนสีของดอกมะขามซึ่งเป็นสีที่เป็นจริงตามธรรมชาติ
ลายตารางสอดไส้ ในช่วงลายใช้กก 3 สี สีของเส้นกกผู้ทอ
สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้ทอ
ลายสามเส้นแดงดำ (ลายโบราณใช้กก 2 สี คือ การทอเสื่อลาย
นี้ต้องใช้สีของกกตายตัว คือ สีแดงและสีดำ
ลายสองเส้นแดงดำ (ลายโบราณใช้กก 2 สี สีของเส้นกกที่ใช้
ในการทอลายนี้ ต้องใช้สีตายตัว คือสีแดงสีดำ
ลายข้าวเปลือก ในช่วงลายใช้กก 3 สี ผู้ทอสามารถเปลี่ยนแปลง
สีของเส้นกกได้ตามความต้องการ
ลายปลาไหลสอดไส้ ในช่วงลายใช้กก 3สี ผู้ทอสามารถ
เปลี่ยนแปลงสีของเส้นกกได้ความต้องการ
ลายตาคู่ ในช่วงลายใช้กก 2 สี ผู้ทอสามารถเปลี่ยนแปลงสีได้
ตามความต้องการ
ลายคดกริช ในช่วงลายใช้กก 2 สี ผู้ทอสามารถเปลี่ยนแปลงสี
ได้ตามความต้องการ
ลายคลื่นน้ำ ในช่วงลายใช้กก 2 สี ผู้ทอสามารถเปลี่ยนแปลงสี
ได้ตามความต้องการ
 
ลายไม้กางเขน แดง-ดำ ในช่วงลายใช้กก 2 สี ผู้ทอสามารถ
เปลี่ยนแปลงสีได้ตามความต้องการ
ลายไข่มุก ในช่วงลายใช้กก 2 สี ผู้ทอสามารถเปลี่ยนแปลงสีได้
ตามความต้อง
2. ลวดลายเสื่อสองชั้น เสื่อสองชั้นมีวิธีการผลิตที่แตกต่างจาก
เสื่อชั้นเดียว คือ การร้อยเอ็น วิธีการร้อยเอ็นเสื่อสองชั้น ไม่เป็น
มาตรฐานเหมือนกับการร้อยเอ็นเสื่อชั้นเดียวซึ่งต้องร้อยทุกรูและทุกร่อง
ฟืม แต่เสื่อสองชั้นจะร้อยเอ็นตามลายที่ผู้ทอต้องการ ลวดลายที่เกิดขึ้น
จากการทอเสื่อสองชั้นจึงเป็นการผสมผสานระหว่างการร้อยเอ็นกับการ
ใช้สีของเส้นกก
การทอเสื่อสองชั้นในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมทอสักเท่าใด มักจะ
เป็นสินค้าตามสั่งเสียมากกว่า เพราะใช้เวลาในการทอนานกว่าเสื่อชั้น
เดียวทั้งต้องกำหนดเรื่องของการร้อยเอ็นขึ้นเพื่อให้ได้ลวดลายตาม
ต้องการ การร้อยเอ็นสองชั้นจึงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการผิดพลาด
เพราะจะทำให้ลายที่ต้องการเปลี่ยนไป
เสื่อสองชั้นที่ทอกันอยู่มีลวดลายไม่มากเท่ากับเสื่อชั้นเดียว
ลวดลายที่เกิดจากเสื่อสองชั้นจะมีลักษณะของลายที่เหมือนกันทั้ง
ด้านหน้าและด้านหลัง เป็นเสื่อที่ใช้ประโยชน์ได้

ประโยชน์ของต้นกก


1. ทำเป็นเสื่อสำหรับนอน  สำหรับปูพื้นในห้องรับแขกแทนพรม  และปูลาดตามพื้นโบส์ถวิหาร เพื่อความสวยงาม
2. ทำเป็นกระเป๋า  แทนกระเป๋าหนัง  ทำเป็นรูปต่าง ๆ  ได้หลายแบบ  แล้วแต่ผู้ประดิษฐ์คิดค้นแบบต่าง ๆ  กัน  ทำเป็นกระเป๋าสตางค์   ทำเป็นกระเป๋าหิ้วสตรี   กระเป๋าใส่เอกสาร   แต่ปัจจุบันมีผู้ทำกันน้อย เพราะกระเป๋าหนัง กระเป๋าพลาสติก  ราคาถูกลงมากการทำไม่ค่อยคุ้มค่าแรงงาน
3. ทำเป็นหมอน  เช่น  หมอนรองที่นั่ง  หมอนพิงพนักเก้าอี้  เรียกว่า  หมอนเสื่อ
4. ทำเป็นกระสอบ  เรียกว่ากระสอบกก
5. ทำเป็นเชือกสำหรับมัดของที่ห่อแล้ว  ตามร้านค้าทั่วไปนิยมใช้เชือกกก เพราะราคาถูกมาก
6. ทำเป็นหมวก  ใช้กันแดด   กันความร้อนจากแสงแดด   กันฝน  หรือเพื่อความสวยงาม
7. ทำเป็นกระจาดใส่ผลไม้  หรืออาหารแห้ง
8. การใช้งานด้านภูมิทัศน์   ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับริมสระน้ำ   ในสวน  หรือปลูกในภาชนะร่วมกับไม้น้ำอื่น ๆ
  9. เป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน   และต้นกกมีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสีย   ปรับสมดุลนิเวศน์วิทยา
10. ใช้เป็นยารักษาโรค  เช่น
                                -  ใบ  ตำพอกฆ่าพยาธิบาดแผล
                                -  ต้น  รสเย็นจืด  ต้มเอาน้ำดื่ม  รักษาโรคท่อน้ำดีอักเสบ ขับน้ำดี
                                -  ดอก  รสฝาดเย็น  ต้มเอาน้ำอม  แก้แผลเปื่อยพุพองในปาก
                                -  เหง้า  รสขม  ต้มเอาน้ำดื่ม  หรือบดเป็นผง  ละลายน้ำร้อนดื่ม  บำรุงธาตุ  เจริญอาหาร  แก้เสมหะ  ขับน้ำลาย
                                -  ราก  รสขมเอียน  ต้มเอาน้ำดื่ม  หรือตำกับเหล้า  คั้นเอาน้ำดื่ม  แก้ช้ำใน  ขับโลหิตเน่าเสีย

การปลูกต้นกก

วิธีการปลูกต้นกก
 
1. นำหน่อต้นกกไปปักดำ ระยะเวลา เดือน
2. ในระยะแรกที่เริ่มปลูกจะเก็บเกี่ยวได้หลังจาก เดือนแต่พอผ่านช่วงแรกไปแล้วจะสามารถเก็บ       เกี่ยวได้ในระยะเวลา เดือน
3. ตัดต้นกกมาตัดแบ่งต้นออก ต้นใหญ่จะแบ่งเป็น ส่วนต้นเล็กจะแบ่งเป็น ส่วน
4. นำมาตากแดดให้แห้งแล้วต้นกกจะเปลี่ยนเป็นสีขาว
5. เมื่อต้นกกแห้งแล้วจะนำมาย้อมสีตามที่ต้องการ
6. จากนั้นนำเส้นกกที่ย้อมแล้วไปตามแดดให้แห้งอีก วัน
7. จากนั้นก็นำไปทอต่อไป

การเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์

การเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์
1)  ด้ายหรือเส้นเอ็น

2) ไม้ส่งกกมีลักษณะแบนปลายมนเจาะรูตรงปลายไม้

3) ฟืม    
 4)  โครงกี่(กี่น้อยนาหนังพัฒน์)


การย้อมสี

ขั้นตอนการย้อมเสื่อกก

1.  การต้มน้ำให้ร้อนและผสมสีลงไป 
2. นำต้นกกที่เตรียมไว้เอาลงต้มให้สีเข้ากับเนื้อกก

3.  กลับด้านเพื่อให้สีเข้ากัน

4.  เอาขึ้นมาตากให้แห้ง
5.  ตากให้แห้ง ( สามารถนำมาทอได้ )

ประวัติการทอเสื่อกก

   การทอเสื่อกกมีการทอมาตั้งแต่สมัยปู่ยา ตา ยายประมาณ 60 ปีมาแล้ว โดยทอจากต้นกกสามเหลี่ยม ต่อมาพระที่วัดได้นำพันธ์ต้นกก มาจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาทดลองปลูกที่ริมหนองน้ำบึงแพง ต่อมาได้มีพัฒนากรเข้ามาร่วมกลุ่มทอเสื่อกกจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นในปี 2521 สมาชิกก่อตั้ง   มี นางสัว สิทธิจันทร์ เป็นประธาน และในปี 2532 ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ส่งวิทยากรมาฝึกอบรมเกี่ยวกับการซอย การย้อมสี การทอ การแปรรูป และการให้ลวดลาด  ในการทอเสื่อกกให้กับกลุ่ม
                  ในปี 2524 สำนักงานพัฒนาชุมชน อ.โกสุมพิสัย คัดเลือกผู้นำ 2 คน คือ นางบุญสัวสิทธิจันทร์ และ นางบัวทอง โพธิรุกษ์ ไปอบรมนาเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทอเสื่อกก เกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ในการทอเป็นเวลา 1 เดือน และนำความรู้ที่ได้รับกลับมาเผยแพร่ให้กับกลุ่มในหมู่บ้านและเป็นวิทยากร ฝึกอบรมการทอเสื่อกกให้กับกลุ่มอาชีพทอเสื่อกกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ประวัติของกลุ่มทอเสื่อกก 
         การทอเสื่อกก  เกิดขึ้นประมาณ  60  ปีแล้ว  ส่วนใหญ่ทอเสื่อเพื่อใช้สอยในครัวเรือนสำหรับแลกเปลี่ยนกับสิ่งของเครื่องใช้ภายในครัวเรือนกันเองในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงโดยเริ่มต้นทอกกสามเหลี่ยม (ต้นผือ)ต่อมาพระที่วัดได้นำพันธุ์กกกระจูด  ( ต้นไหล ) มาจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาทดลองปลูกที่ริมบึงแพง ผลปรากฏว่าเป็นพืชที่ปลูกได้ผลดี  เจริญเติบโตเร็ว  จึงมีราษฏรในเขตหมู่บ้านแพงนำมาปลูกซึ่งต้นกกกระจูดมีคุณสมบัติที่เหนียว เมื่อทอเป็นผืนใช้งานได้ดี มีความคงทนถาวรมากกว่าการทอจากต้นกกสามเหลี่ยม( ต้นผือ ) ต่อมามีการจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพทอเสื่อกกขึ้น